📢 ข้อควรทราบ
เราขอแนะนำให้คุณเปิดอ่านบนเดสก์ท็อป 💻 เพื่อประสบการณ์การอ่านที่ดี แต่อ่านบนมือถือก็สามารถทำได้เหมือนกัน📱 โปรดอ่าน เกี่ยวกับคู่มือนี้ คู่มือนี้เรียบเรียงขึ้นมาจากคู่มือหลักของ ซึ่งได้อนุญาตให้แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย พร้อมใส่เนื้อหาเพิ่มเติมจากต้นฉบับที่มาจากการถอดบทเรียนโครงการนำร่องจัด Repair Café ในไทยของ เป็นเวลาครึ่งปี ผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำคู่มือนี้ได้ใน ตามธรรมเนียม Repair Café จะต้องไม่เก็บค่าเข้าหรือค่าซ่อมจากผู้เข้าร่วม ยกเว้นตามเงื่อนไข (อ่านเพิ่มเติมใน ) 1. จดหมายถึงผู้อ่าน 💌
2. รู้จัก Repair Café 👀
Repair Café คือกิจกรรมรายเดือนที่รวบรวมอาสาช่างซ่อมทั้งในและนอกพื้นที่ให้มาช่วยซ่อมและสอนวิธีซ่อมดูแลรักษาสิ่งของในชีวิตประจำวันให้กับผู้คนในชุมชน มีเป้าหมายเพื่อทำให้การซ่อมเป็นเรื่องง่ายที่ทุกคนทำได้ ชักชวนให้ผู้คนหันมาซ่อมของแทนการซื้อใหม่ และสร้างโอกาสที่คนในชุมชนที่มาจากหลากหลายพื้นเพจะได้มารู้จักและทำกิจกรรมร่วมกัน
Repair Café ให้ความสำคัญกับการเป็นพื้นที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้โดยปราศจากข้อกีดกันทางการเงินหรือเงื่อนไขใดๆ ที่กีดกันคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้น Repair Café จึงเป็นกิจกรรมที่ไม่เก็บค่าใช้จ่ายกับผู้เข้าร่วม และสนับสนุนให้ผู้จัดมองหาการสนับสนุนจากชุมชนเพื่อให้สามารถจัดงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เช่น การหาอาสาช่างซ่อมในพื้นที่ การร่วมงานกับองค์กร เช่น สถานศึกษาในพื้นที่เพื่อขอใช้สถานที่จัดงานแลกกับการจัดกิจกรรมที่นักเรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ หรือการรวมกลุ่มกันในชุมชนเพื่อจัดงาน
นอกเหนือจากเงื่อนไขข้างต้น การจัด Repair Café สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่จัดงานได้ คู่มือการจัด Repair Café ฉบับนี้จึงรวบรวมแนวทาง คำแนะนำ และเทคนิคการจัด Repair Café ที่ผ่านการทดลองและปรับให้เหมาะบริบทของประเทศไทยเอาไว้ แต่หากผู้จัดต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม ผู้จัดสามารถติดต่อพวกเราได้ทางลิงก์ด้านล่าง 2.1 ที่มาที่ไปของแนวคิดนี้
มาร์ทีน โพสต์มา (Martine Postma) ขณะที่ทำงานเป็นนักข่าวและนักการสื่อสารอยู่ ณ เมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ในปี 2009 (พ.ศ. 2552) ได้ริเริ่มแนวความคิดการจัดกิจกรรม Repair Café ขึ้น เธอมีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่ในชุมชน ที่ที่ผู้คนทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์นำข้าวของที่เสียมาซ่อมได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาสาช่างซ่อมที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการซ่อมแซมข้าวของประเภทต่างๆ ได้คอยให้คำแนะนำและการสนับสนุนควบคู่ไปด้วย
กิจกรรม Repair Café ครั้งแรกจัดขึ้นในวันที่ 18 ตุลาคม 2009 ณ โรงละครฟิญเฮาต์ (Fijnhout Theatre) เมืองอัมสเตอร์ดัม และได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ในบ่ายวันนั้น ผู้คนจากทั้งในเมืองอัมสเตอร์ดัมและข้างเคียงต่างหลั่งไหลนำข้าวของมาให้อาสาช่างซ่อมช่วยซ่อมแซมและเรียนรู้ทักษะการซ่อมไปในเวลาเดียวกัน ความสำเร็จในครั้งนี้ทำให้เราเห็นว่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการที่จะดูแลและซ่อมแซมข้าวของของตนเองให้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว Repair Café จึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้
ในเวลาต่อมา มาร์ทีนได้ก่อตั้งองค์กร Repair Café International Foundation ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางที่สนับสนุนชุมชนในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่ต้องการจัด Repair Café ของตัวเองมา ซึ่งได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2011 ถึงปัจจุบัน
Repair Café International Foundation มีเป้าหมายหลักในการดำเนินงาน 3 ประการ
ฟื้นฟูวัฒนธรรมการซ่อมที่หายไปจากสังคมสมัยใหม่ พัฒนา กระจายทักษะ และองค์ความรู้ด้านการซ่อม สนับสนุนให้ชุมชนมีความเท่าเทียม ความเป็นหนึ่งเดียว และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผ่านการจัดกิจกรรมที่เปิดกว้างให้ทุกคนที่อาจจะมีพื้นเพต่างกัน สามารถมีส่วนร่วมและพบปะกันและกันได้ ปัจจุบัน Repair Café International Foundation มีคณะกรรมการบริหารทั้งหมด 3 คน ประกอบด้วย
โจอันนา ฟาน เดอร์ ซันเดน (Joanna van der Zanden) นักวิจัยประเด็นด้านการซ่อม ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ มาร์ติน ลูซิงก์ (Martijn Leusink) ผู้จัด Repair Café เมืองอูเทรกต์ (Utrecht) ดำรงตำแหน่งเลขานุการ บราม ชูร์แมน (Bram Schuurman) โค้ชธุรกิจ อดีตผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ดำรงตำแหน่งเหรัญญิก ช่องทางการติดต่อ (ภาษาอังกฤษ) สำหรับผู้ที่ต้องการสนับสนุนในการจัด Repair Café
2.2 เหตุผลในการจัด Repair Café
ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่ใช้การบริโภคนิยมเป็นตัวชี้วัดการเติบโต สังคมของเรากำลังเสพติดกับการบริโภคสินค้าใหม่บ่อยขึ้นเรื่อยๆ ทันทีที่ของใช้ชำรุดนิดหน่อยหรือแค่มีรอยตำหนิ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าขนาดใหญ่อย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสินค้าชิ้นเล็กๆ เช่น เสื้อผ้าหรือตุ๊กตา เราเลือกที่จะซื้อของใหม่มาทดแทนและโยนของเก่าทิ้งไป
ปัจจุบันมีผู้คนเพียงหยิบมือ เช่น ผู้บริโภคกลุ่มเล็กๆ ช่างฝีมือ ผู้สูงอายุ หรือผู้ใช้แรงงานที่ยังคงเลือกการซ่อมแทนการซื้อใหม่ และนับวันบทบาทของผู้มีความสามารถในการซ่อมกำลังถูกลดทอนความสำคัญลงภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่ทำทุกวิถีทางให้เราบริโภคเพิ่ม ส่งผลให้องค์ความรู้และทักษะในการซ่อมแซมค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน
Repair Café จึงเป็นพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับผู้มีความสามารถในการซ่อมเหล่านี้ เราชวนพวกเขามาเป็นอาสาช่างซ่อม และชวนผู้คนในชุมชนให้เข้ามาร่วมเรียนรู้วิธีการซ่อม พร้อมกับลงมือซ่อมของประเภทต่างๆ ไปด้วยกัน ซึ่งการจัดกิจกรรมเช่นนี้นอกจากจะช่วยกระจายองค์ความรู้ด้านการซ่อมให้แพร่หลายแล้ว ยังช่วยให้เหล่าอาสาช่างซ่อมได้มีบทบาทในชุมชนมากยิ่งขึ้น
ในมุมของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การซ่อมแทนการซื้อใหม่ส่งผลให้ผู้บริโภคลดการทิ้งสิ่งของที่ยังมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ ทั้งยังสร้างแรงกระเพื่อมไปถึงผู้ผลิตที่จำเป็นต้องลดการผลิตสินค้าใหม่ๆ ลง แนวปฏิบัตินี้จะช่วยลดการใช้พลังงาน ทรัพยากร และลดการปล่อยมลภาวะได้ในปริมาณมาก
นอกเหนือจากนี้ Repair Café อยากเห็นผู้บริโภคมีความสุขและได้ใช้ประโยชน์กับข้าวของที่มีอยู่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น และที่สำคัญ เราอยากให้ผู้บริโภคเห็นว่า การซ่อมก็เป็นเรื่องที่ไม่ยากและสนุกได้เช่นกัน!
2.3 บทบาทของ Reviv Community
เริ่มต้นนำร่องจัดกิจกรรม Repair Café ในกรุงเทพฯ เป็นจำนวน 6 ครั้ง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2023 ถึงมิถุนายน 2024 เพื่อทดสอบความต้องการของผู้คนในบริบทสังคมไทย ซึ่งเราได้รับผลตอบรับจากทั้งชุมชน ผู้เข้าร่วม และสื่อมวลชนเป็นอย่างดีตลอดการดำเนินงาน กลุ่ม Reviv Community จึงมีความตั้งใจในการขยายผลโครงการ เริ่มเมื่อต้นเดือนกันยายน 2024 เราได้เซ็น MOU อย่างเป็นทางการกับ Repair Café International Foundation (RCIF) ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลและสนับสนุน Repair Café กว่า 3,000 แห่งทั่วโลก พวกเรา Reviv Community จะดำเนินการจัดตั้ง แห่งนี้เพื่อสนับสนุนผู้จัด Repair Café ในประเทศไทยผ่าน 4 กลไก แปลคู่มือการจัด Repair Café เป็นภาษาไทย พร้อมปรับเนื้อหาให้เหมาะบริบทของประเทศไทยและเพิ่มเครื่องมือที่พัฒนาจากกิจกรรมนำร่องของเราเข้าไปด้วย ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กับ Repair Café โดยการช่วยปักหมุด Repair Café ลงบนแผนที่ Repair Café บนหน้าเพจ และบนแผนที่กลางของ รวมไปถึงช่วยประชาสัมพันธ์ Repair Café ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์มการสื่อสารของเรา ให้คำปรึกษาผู้ที่สนใจจัด Repair Café ซึ่งสามารถติดต่อพวกเราโดยตรงได้ผ่านทาง (สำหรับผู้จัด Repair Café ในประเทศไทย เราแนะนำเป็นช่องทาง Discord ซึ่งจะสามารถพูดคุยกันได้อย่างสะดวก) ทำหน้าที่รวบรวมและแชร์ข้อมูล Repair Café และข้อมูลการซ่อมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้กับ @Repair Café International Foundation (RCIF)
และองค์กรนานาชาติอื่นๆ เช่น เพื่อร่วมกันผลักดันนโยบายและวัฒนธรรมการซ่อมต่อไป 3. จัดตั้ง Repair Café 🖐️
ในขณะนี้ Repair Café กำลังเป็นที่สนใจ เกิดเป็นแรงขับเคลื่อนให้มี (ว่าที่) ผู้จัดงานจำนวนมากที่ต้องการจัดตั้ง Repair Café ตามย่านต่างๆ เราจึงพัฒนาคู่มือฉบับนี้เพื่อสานต่อความตั้งใจให้คุณเองก็สามารถรับหน้าที่เป็นผู้จัดได้ ซึ่งเราเรียบเรียงวิธีการจัดงานออกมาเป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติตามได้จริง
ในคู่มือฉบับนี้ เราจะให้คำแนะนำตั้งแต่การหาสถานที่จัดงานที่เหมาะสม การหาอาสาช่างซ่อมให้เพียงพอ อุปกรณ์การซ่อมที่ต้องเตรียมไว้ แนวทางการประชาสัมพันธ์โครงการ การหาทุนสำหรับจัดงาน อีกทั้งแนวทางการประเมินความปลอดภัยและพัฒนารูปแบบงาน ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่จะทำให้ Repair Café ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ได้รับการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ นำไปสู่เป้าหมายคือเกิดการจัด Repair Café ในแต่ละท้องที่อย่างเป็นประจำ
ทั้งนี้ คุณคือผู้ที่รู้จักละแวกบ้านของคุณดีที่สุด ผู้จัดทุกคนสามารถปรับวิธีการที่เราเขียนไว้ในคู่มือให้กลายเป็นแนวทางที่เข้ากับบริบทในย่านของคุณได้เลย
3.1 การเลือกสถานที่จัด
การเลือกสถานที่จัด Repair Café มีปัจจัยหลักที่ผู้จัดที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้
👇 ตัวอย่างการจัดสถานที่ของ Repair Café Pilot ครั้งที่ 2 และ 5
3.2 การวางแผนจัดงาน
ตารางด้านล่างแสดงแผนงานการจัดตั้ง Repair Café อย่างเป็นขั้นเป็นตอน แบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 ระยะ โดยที่ช่วงตั้งไข่เป็นระยะพิเศษที่จะดำเนินเพียงครั้งแรกครั้งเดียวเพื่อจัดตั้งโครงการ ก่อนที่จะดำเนินแผนงานระยะที่ 1-6 ในแต่ละรอบเดือนที่จะจัด
3.3 รายละเอียดฐานกิจกรรม
ผู้จัดสามารถเชิญอาสาซึ่งเชี่ยวชาญการซ่อมสิ่งของและอุปกรณ์ประเภทต่างๆ มาร่วมใน Repair Café ได้โดยสำรวจจากความต้องการของคนในพื้นที่นั้นๆ แต่โดยทั่วไป Repair Café มักจะประกอบไปด้วยฐานกิจกรรมและสถานีซ่อมขั้นพื้นฐานที่ดำเนินการโดยอาสาช่างซ่อมผู้เชี่ยวชาญหยิบมือหนึ่ง บทนี้จะให้ข้อมูลว่าสถานีซ่อมแต่ละสถานีจะมีรูปแบบโดยคร่าวๆ เป็นอย่างไร รวมถึงอุปกรณ์ที่ต้องจัดเตรียมไว้ล่วงหน้า
3.4 หาอาสาจัดงานและช่างซ่อม
อาสาช่างซ่อมเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของทุกๆ Repair Café ในบทนี้เราจะมาแนะนำช่องทางการหาอาสาช่างซ่อม เริ่มจากกลุ่มคนใกล้ตัวไปจนถึงระดับองค์กร ซึ่งจะสามารถช่วยให้การหาอาสาช่างซ่อมสำหรับ Repair Café ของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น
ขั้นตอนการดำเนินงานมี 4 ขั้นตอน
3.5 จัดหาอุปกรณ์
เนื้อหาในบทก่อนหน้านี้ได้รวบรวมรายการสิ่งของจำนวนมากที่ต้องเตรียมเพื่อจัด Repair Café เนื้อหาในบทนี้จะนำเสนอวิธีการที่ช่วยให้คุณสามารถร่วมรวมของเหล่านั้น
การหยิบยืมจากคนรอบตัวหรือเพื่อนบ้าน เป็นสิ่งแรกที่ผู้จัดทุกคนสามารถทำได้ หาผู้สนับสนุนเครื่องมือจากร้านซ่อมในพื้นที่ บางครั้งร้านซ่อมในชุมชนของคุณอาจจะสนใจใน Repair Café แต่ไม่สามารถปลีกตัวจากงานประจำมาเป็นอาสาได้ เขาสามารถให้คุณยืมยืมเครื่องมือไปใช้จัดงาน และผู้จัดงานสามารถช่วยประชาสัมพันธ์ร้านซ่อมของเขาโดยใส่ชื่อและรายละเอียดของร้านไว้ในรายชื่อผู้สนับสนุน Repair Café ของคุณ ขอให้อาสาช่างซ่อมพกเครื่องมือมาด้วย อาสาช่างซ่อมส่วนใหญ่มักจะมีเครื่องมือที่ใช้อยู่เป็นประจำ คุณสามารถสอบถามและขอให้เขานำเครื่องมือเหล่านั้นมาได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญคือความสะดวกของอาสา หากเครื่องมือมีขนาดใหญ่หรือหนัก คุณอาจจะต้องช่วยอาสาในการขนส่ง หรือหากเป็นของสิ้นเปลืองหรือสึกหรอได้ง่าย คุณควรถามความสมัครใจและตกลงเงื่อนไขกับอาสาให้ชัดเจนก่อน ซื้อเมื่อจำเป็น สำหรับอุปกรณ์หรือของสิ้นเปลื่องที่ต้องใช้บ่อยใน Repair Café เช่น น้ำมันอเนกประสงค์ WD-40 เทปกาว กาว ค้อน หรืออุปกรณ์อื่นๆ คุณสามารถซื้อเก็บไว้ที่สถานที่จัดงาน Repair Café ได้เลยเช่นกัน 4. รายละเอียดอื่นๆ ที่สำคัญ 📂
5. Supporting materials & tools 🧰